วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

กระบวนการและวิธีการจัดการในบ้าน


การจัดการในบ้าน
                  การจัดการในบ้านจะดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยและสมบูรณ์ตามความต้องการของครอบครัวเพียงใด ขึ้นกับกระบวนการจัดการ  กระบวนการตัดสินใจ  และ วิธีการจัดการรายได้และการวางแผนการใช้จ่ายในครอบครัว

                การจัดการที่มีประสิทธิภาพ จะต้องมีการกำหนดจุดประสงค์ที่ชัดเจนไว้ล่วงหน้า  ถ้ามิได้กำหนดไว้ก็ไม่สามารถจัดการให้ได้ผลดี มีผู้กล่าวไว้ว่า การจัดการในบ้านนั้นหมายถึงการบริหารทรัพยากรของบ้านเพื่อให้มีเพิ่มพูนขึ้น
                การจัดการบ้านเรือน  เป็นวิธีปฏิบัติที่จะให้ครอบครัวได้ใช้ในสิ่งที่ต้องการและจำเป็นสำหรับการอยู่ร่วมกันภายในครอบครัวอย่างมีความสุขและบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสมาชิกในครอบครัวจึงต้องเรียนรู้เรื่องต่อไปนี้

 


 

 

 

 

 

 

 




 

 

 

 

 

 

หลักสำคัญในกระบวนการจัดการ

                การทำงานใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นงานบ้าน งานราชการ หรืองานธุรกิจขององค์การใด ๆ ก็ตาม จะต้องดำเนินการตามหลักการ จึงจะทำให้งานนั้น ๆ ดำเนินไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ

                หลักสำคัญของกระบวนการจัดการบ้านเรือนที่ได้มีการทดลอง และได้ผลน่าพอใจ มีอยู่ 3 ขั้นตอน  คือ

                                1.  การวางแผน

                                2.  การควบคุมหรือการตรวจสอบงาน

                                3.  การประเมินผล

 

1.  การวางแผน 

หมายถึง   การเตรียมอย่างรอบคอบก่อนลงมือทำงานชิ้นหนึ่งชิ้นใด โดยเริ่มตั้งแต่คิดหาวิธีการทำงานหลาย ๆ วิธี   และเลือกวิธีที่ดีที่สุด  มาวางแผนเพื่อให้การทำงานถูกต้องตามเป้าหมาย  ช่วยให้มีการประสานงานขจัดการปฏิบัติงานซ้ำซ้อนและข้อขัดแย้งกันหมดสิ้นไป  การวางแผนจึงเป็นกระบวนการหนึ่งที่สำคัญของการจัดการในบ้าน

 

 

ในการวางแผนนั้นจะต้องตอบคำถามสองประการคือ จะทำอะไรบ้างและจะใช้วิธีการอย่างไร

 

                                                     แผนภูมิแสดงการวางแผน                                                                          


               
งานในบ้านควรให้สมาชิกในครอบครัวมีการวางแผนร่วมกัน  จะช่วยให้เด็กได้รับการเรียนรู้ในเรื่องประชาธิปไตยไปในตัวด้วย  การวางแผนควรวางเป็นเรื่อง ๆ ตามลำดับก่อนหลัง  ตามความจำเป็นของแต่ละครอบครัว  โดยหารือว่าจะเริ่มต้นอย่างไรก่อน  แล้วจะทำอะไรต่อไปเป็นขั้น ๆ  เช่น  การวางแผนเกี่ยวกับการใช้จ่ายของครอบครัว   ควรให้ทุกคนรู้ว่ารายได้ของครอบครัวมีเท่าใด  จะแบ่งออกเป็นค่าอาหาร  เสื้อผ้า  ที่อยู่อาศัยค่ายารักษาโรค  ค่าเล่าเรียน   ค่าผักผ่อน ฯลฯ  ตลอดจนส่วนเฉลี่ยของแต่ละคนที่จะใช้  วิธีนี้จะช่วยให้ทุกคนรู้สิทธิของตนเอง  และไม่กล้าเรียกร้องสิ่งใดเกินสิทธิหรือเกินความจำเป็น

ในการวางแผนบางเรื่อง  ก็ไม่จำเป็นจะต้องทำทั้งครอบครัว  อาจทำเพียงคนเดียว หรือ 2 คน ก็ได้  เช่น

การมอบหมายหน้าที่ให้แต่ละคนทำงานบ้าน  ดูแลเรื่องอาหาร  การทำความสะอาดหรือรดน้ำต้นไม้  เป็นต้น

 

2.  การควบคุมหรือการตรวจสอบงาน  

งานทุกชนิดเมื่อได้มีการวางแผน  และดำเนินไปตามแผนแล้ว  จะต้องมีการควบคุมดูแลด้วย  การควบคุมงานเป็นกระบวนการดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือตามแผนงานที่วางไว้  ซึ่งจะเป็นแนวทางชี้ให้เห็นผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ช่วยให้เกิดการประหยัดเงิน  เวลา  แรงงาน  ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ช่วยป้องกันความสูญเปล่าที่อาจจะเกิดขึ้น  ความมุ่งหมายของการควบคุมงานก็คือ  เพื่อตรวจสอบการดำเนินงานที่ปฏิบัติอยู่ว่าก่อให้เกิดผลตามวัตถุประสงค์ ที่กำหนดไว้ในกระบวนการวางแผนหรือไม่หากไม่มีการควบคุม  การปฏิบัติอาจไม่ตรงตามแผนที่วางไว้ก็ได้

 

 

 

 

                การควบคุมหรือการตรวจสอบงาน  ควรถือหลักเกณฑ์ดังนี้

                                1.  ควบคุมงานให้อยู่ในขอบเขตที่วางไว้   เช่น   กำหนดหน้าที่ไว้ว่าเมื่อนักเรียนตื่นนอนตอนเช้าจะต้องรดน้ำต้นไม้บริเวณหน้าบ้านก่อนที่จะอาบน้ำแต่งตัวไปโรงเรียน  ฉะนั้น  นักเรียนจะต้องปฏิบัติตามหน้าที่ที่กำหนดไว้

                                2.  ควบคุมวิธีปฏิบัติงาน  เช่น  ตั้งใจทำความสะอาดบ้านก่อนที่จะรีดเสื้อผ้า  แต่เมื่อเห็นว่าบ้านไม่สกปรก  จึงเปลี่ยนเป็นทำกับข้าวก่อนแล้วจึงรีดเสื้อผ้า  เป็นต้น  ทั้งนี้การปฏิบัติงานจะต้องเหมาะสมและมีเหตุผลด้วย

                                3.  ควบคุมให้เป็นไปตามกำหนดเวลา  งานในบ้านเป็นภาระที่ต้องทำต่อเนื่องกนไปตลอดเวลา หากไม่คอยควบคุมการทำงาน  โดยทำงานตามแต่อารมณ์ที่จะทำแล้ว  จะทำให้งานต่าง ๆ กระทบกระเทือนไปหมด  เมื่อได้กำหนดเลาในการทำงานใด ๆ ไว้  ก็ควรปฏิบัติงานตามเวลาอย่างเคร่งครัดเพื่อมิให้เสียการทำงานตามกำหนดเวลา  นอกจากจะทำให้งานไม่เสียหายแล้วยังเป็นสร้างความรับผิดชอบและวินัยให้กับตนเองด้วย   เช่น  กำหนดไว้ว่าเวลา 17.00  ถึง  18.00  เป็นเวลาที่ทุก ๆ คนในครอบครัวจะต้องช่วยงานบ้าน   นักเรียนแต่ละคนเป็นสมาชิกในครอบครัว  จะต้องทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้ดีที่สุด  ไม่ควรทำหน้าที่ตามใจชอบ  เช่น  เวลารับประทานก็ต่างคนต่างกิน ซึ่งเป็นการไม่สามัคคีแล้วยังเป็นการิส้นเปลืองค่าใช้จ่ายอีก

                                4.  ควรคุมให้ทำงานตามหน้าที่    เมื่อได้แบ่งหน้าที่ในการทำงานตามบทบาทของแต่ละคนแล้ว

ทุกคนควรทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด  งานทุกอย่างจึงจะสำเร็จเรียบร้อย หากก้าวก่ายกันหรือละเลยหน้าที่ของตน  งานส่วนอื่นก็จะเสียหายได้  เช่น  นักเรียนได้รับมอบหมายให้ทำความสะอาดบ้าน  แต่กลับไปรดน้ำต้นไม้ซึ่งเป็นหน้าที่ของน้อง  งานทำความสะอาดาบ้านก็ตกเป็นภาระของผู้อื่น หรือทำไม่เสร็จ เป็นต้น

                                5.  ควบคุมงบประมาณการใช้จ่าย    เมื่อได้วางแผนการปฏิบัติงานและกำหนดค่าใช้จ่ายไว้อย่างไร  ก็ควรจะใช้จ่ายเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด  และเป็นไปอย่างประหยัด   กล่าวคือ  จะต้องมีหลักการเลือกซื้อของที่จำเป็นและวางแผนการซื้อไว้  ก็จะสามารถควบคุมการใช้จ่ายให้อยู่ในวงเงินที่กำหนดได้  เช่น  กำหนดว่าจะซื้ออุปกรณ์ในการทำงานบ้าน  เช่น   ไม้กวาด  แปรงถูกบ้าน  ถังน้ำ หรืออื่น ๆ จะต้องคำนึงถึง ขนาด ราคา คุณภาพ  และประโยชน์ในการใช้สอย ทั้งนี้เพื่อที่จะได้สั่งของที่มีคุณภาพเป็นการหยัดรายจ่ายของครอบครัวด้วย

                จากหลักเกณฑ์ในการควบคุมหรือตรวจสอบงานดังกล่าวทั้ง  5  ประการ พอสรุปได้ว่า เมื่อได้วางแผนการปฏิบัติงานไว้แล้ว  จะต้องมีการควบคุมในเรื่องขอบเขตของงาน วิธีปฏิบัติ ระยะเวลา บทบาทของผู้ปฏิบัติงานและค่าใช้จ่ายด้วย

                                หลักเกณฑ์ในการควบคุมงาน   ประกอบด้วย

1.              ควบคุมงานให้อยู่ในขอบเขตที่วางไว้

2.              ควบคุมวิธีปฏิบัติงาน

3.              ควบคุมให้เป็นไปตามกำหนดเวลา

4.              ควบคุมให้ทำงานตามหน้าที่

5.              ควบคุมงบประมาณการใช้จ่าย

3.  การประเมินผล  

เป็นขั้นตอนที่สามของการจัดการ การทำงานใด ๆ เมื่อได้มีการวางแผนและควบ

คุมงานแล้วจะต้องมีการประเมินผลว่า  การทำงานเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่  มีข้อดีข้อเสียอย่างไร เพื่อจะได้พิจารณาการทำงานให้ดียิ่งขึ้น  การประเมินแบ่งออกได้ 32 ลักษณะคือ 

                1.  การประเมินกระบวนการทำงาน   หมายถึง  การประเมินลักษณะ วิธีการทำงานและขั้นตอน

ในการทำงาน

2.             ประเมินผลงาน  ได้แก่  การประเมินผลจากการทำงาน  มุ่งเน้นแต่ผลการทำงานว่าเป็นไป

ตามแผนหรือไม่ ได้คุ้มค่ากับการทำงานที่คาดหวังเพียงใด

                                      การประเมินผลงานดังกล่าวมีหลักเกณฑ์ ดังนี้  คือ

ก)      กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมิน

เมื่อกำหนดว่าจะประเมินผลอะไรบ้างแล้ว  จะต้องกำหนดเกณฑ์ในการประเมินด้วย 

ตัวอย่างเช่น  การขัดรองเท้าหนัง  นักเรียนจะถือเกณฑ์ว่าขัดรองเท้าได้ดีเพียงใด  จะพิจารณาผลการทำงานนี้อย่างไรบ้าง  (ดูที่ความสะอาด  ความมัน  การขัดทั่วทั้งสองข้าง)  นอกจากนี้จะต้องกำหนดวิธีประเมินด้วยว่าจะประเมินโดยเปรียบเทียบกับอะไร  จึงจะเป็นที่พอใจ  ซึ่งอาจจะเปรียบกับการทำงานของตนเองเมื่อครั้งก่อน  หรือเปรียบเทียบกับผลงานของผู้อื่น  เป็นต้น

ข)      กำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมินผลงาน 

การประเมินผลงาน  ต้องประเมินปริมาณและคุณภาพของงานที่ทำว่าได้ผลตามที่วางแผน

ไว้หรือไม่  ต้องประเมินข้อบกพร่องในการทำงานโดยสังเกตว่า   ได้ผลงานตามที่วางแผนไว้หรือไม่ มีปัญหาอุปสรรค  ข้อบกพร่องอะไรบ้างจะได้หาทางแก้ไขปัญหาต่อไป   ตัวอย่างเช่น  การซักและรีดเสื้อผ้า  จะทำเฉพาะในวันเสาร์และวันอาทิตย์   โดยมีแผนว่าวันธรรมดาจะไม่ทำ   เมื่อประเมินผลงานที่ทำจะพบว่า  งานซักรีดในวันหยุดทำให้ไม่เวลาพักผ่อน  และทำกิจธุระอื่นไม่ได้  ทั้งยังทำให้เสื้อผ้าเหม็นอับ  เปื่อยง่าย  ซักยาก  เพราะทิ้งไว้หลายวัน  เมื่อพบปัญหาเช่นนี้  ก็สามารถจะเปลี่ยนวิธีจัดการเสียใหม่ได้โดยวางแผนการทำงานใหม่ เป็นต้น




 



 

 

 

 

 

 

 

 

2.  การตัดสินใจคืออะไร

            การตัดสินใจเป็นวิถีทางของการกระทำอย่างหนึ่งซึ่งได้เจาะจงเลือกมาจากทางเลือกต่าง ๆ ที่มีอยู่โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยให้บรรลุผลตามที่มุ่งหวังไว้  ความหมายนี้มีแนวคิดที่สำคัญอยู่ 3  ประการด้วยกันคือ

                1)  การตัดสินใจอย่างหนึ่งอย่างใดนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเลือก    ถ้ามีทางเลือกทางเดียวก็ไม่ต้องใช้การตัดสินใจ

                2)  การตัดสินใจนั้นเป็นกระบวนการที่เราเลือกหนทางที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหา  โดยใช้สามัญสำนึก ความมีเหตุผล เข้าไตร่ตรอง  มิใช่ทำไปโดยไม่รู้สึกตัวหรือใช้อารมณ์ปราศจากเหตุผล  เข้ามาเกี่ยวข้องกับกระบวนการคิดและตัดสินใจ

3)   การตัดสินใจโดยมีจุดมุ่งหมาย  เป็นการช่วยให้เกิดผลตามเป้าหมายบางอย่างที่ตั้งไว้  

 

การตัดสินใจที่ดีเป็นอย่างไร

การตัดสินใจจะต้องตระหนักถึงปัจจัยที่กำหนดสภาพแวดล้อม ได้แก่ เป้าหมายที่กำหนดไว้ล่วงหน้า  การมีประสบการณ์ข้อเท็จจริง ข้อมูลและการเข้าใจในสถานการณ์

การตัดสินใจกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด  ควรเลือกวิธีการที่จะให้ผลตรงตามจุดมุ่งหมาย และดำเนินการให้ดีที่สุดตามวิธีการที่เลือกนั้น   ถ้าผลของการตัดสินใจเป็นที่พอใจก็จะเป็นประสบการณ์ไว้ในความทรงจำ  เพื่อใช้ในการตัดสินใจครั้งต่อไป

องค์ประกอบในการตัดสินใจมีดังนี้

2.1  ค่านิยมคืออะไร

        เป็นความคิดที่ควรจะเป็น  หรือสิ่งซึ่งเป็นที่ปรารถนา  หรือ  สิ่งที่สมาชิกของสังคมอยากได้  เพราะคาดหวังให้ประโยชน์ที่พึงได้รับ  ค่านิยมเป็นมาตรฐานที่สมาชิกทุกชั้นของสังคมยอมรับ  และพร้อมจะปฏิบัติ

2.2  วัตถุประสงค์คืออะไร

        วัตถุประสงค์   คือ   จุดหมายปลายทางที่บุคคลพยายามจะให้บรรลุถึงผลที่ต้องการโดยมีการวางแผนและวิธีปฏิบัติไว้อย่างชัดเจน

        วัตถุประสงค์ของเราจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับค่านิยมของเราเอง  เช่น  เห็นคุณค่าของการเกี่ยวข้องกับผู้อื่น  การช่วยเหลือผูอื่นก็อาจวางวัตถุประสงค์ไว้ว่าจะเป็นพยาบาล  ถ้าเห็นคุณค่าของการศึกษา  ก็อาจกำหนดวัตถุประสงค์ไว้ว่า จะเรียนให้สำเร็จขั้นสูงสุด เป็นต้น

2.3   ทรัพยากรคืออะไร

        ทรัพยากร   คือ   สิ่งที่เราใช้เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของเรา ทรัพยากรเหล่านี้รวมถึงความรู้ทักษะ  แรงงาน   พลังงาน   และเงิน

ในชีวิตประจำวันเราต้องการตัดสินใจเกี่ยวกับการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน   นับแต่ตื่นนอน จนถึงเข้านอน   เช่น   เมื่อลุกจากที่นอนเรามีเวลาอันจำกัดต้องรีบอาบน้ำแต่งตัว  ท่องหนังสือ   ทำงานบ้าน  ในระยะเวลาอันจำกัดก่อนที่จะไปโรงเรียน

 

กระบวนการตัดสินใจ

เมื่อเราคิดอย่างรอบคอบเกี่ยวกับค่านิยม  วัตถุประสงค์  และทรัพยากรให้ดีแล้ว   เราก็จะสามารถตัดสินใจสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประวันได้เป็นอย่างดี

กระบวนการตัดสินใจสามารถนำมาประยุกต์กับการจัดทำงบประมาณรายรับรายจ่าย   ในการเลือกซื้อสินค้าและบริการ  การเลือกอาชีพ   เลือกงานอดิเรกอื่น ๆ  จงระลึกเสมอว่าเมื่อนักเรียนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ก็จะต้องมีความรับผิดชอบมากขึ้นในการตัดสินใจและการกรทำ  ทำไมเราจะไม่เริ่มเรียนรู้  และฝึกปฏิบัติทักษะในการตัดสินใจเสียแต่แรกเริ่ม  เพราะถ้าได้ฝึกปฏิบัติแล้ว  ต่อไปในอนาคตก็คงจะตัดสินใจได้ดีขึ้นจากประสบการณ์ที่ผ่านมานั่นเอง

ตัวอย่างกระบวนการตัดสินใจ

ปราณี  เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เพื่อนชวนให้ไปงานเลี้ยง  แต่โชคร้ายที่พ่อของเธอเพิ่งถูกออกจากงาน เพราะบริษัทเลิกกิจการ  และครอบครัวก็ไม่มีเงินที่จะให้ปราณีซื้อเสื้อผ้าชุดใหม่

ขั้นตอนของกระบวนการตัดสินใจทั้ง 5 ขั้นตอน  จะเห็นได้จากตัวอย่างกระบวนการตัดสินใจในการแก้ปัญหาของปราณี ดังนี้

 

 

ขั้นตอนการตัดสินใจ

 


ลูกศรซ้าย:      ค่านิยม
              -    ความสวยงาม
1.  กำหนดปัญหา
     ปราณีจะต้องมีเสื้อผ้าชุดใหม่
 
 
2.  ทางเลือกในการแก้ปัญหาที่จะเป็นไปได้
     2.1  หาเสื้อผ้าชุดใหม่
     2.2  ใช้เสื้อผ้าชุดเก่า
     2.3  ยืมเสื้อผ้าจากเพื่อน
 
 
 
3.  ผลที่อาจเกิดจากการเลือกแต่ละแนวทาง
     3.1 ครอบครัวไม่มีเงิน 
     3.2 ดัดแปลงเสื้อผ้าชุดเก่า
     3.3 เพื่อนอาจไม่ให้ยืม